ซีพียู Gulftown นั้นจะใช้กระบวนการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร สร้างอยู่บน Die ขนาด 240 ตารางมิลลิเมตร และมีทรานซิสเตอร์อยู่ราวๆ 1.17 พันล้านตัว ซึ่งมีขนาดของ Die ที่เล็กกว่าซีพียู Core i7-900 (Boomfield) ที่ผลิตด้วยกระบวนการ 45 นาโนเมตร Core i7-900 สร้างบน Die ที่มีขนาด 263 ตารางมิลลิเมตร และมีทรานซิสเเตอร์อยู่ 731 ล้านตัว
สวัสดีครับ.... พบเจอกันในวันที่ 11 มีนาคม 2553 ตามที่ได้สัญญากันไว้ ซึ่งก็สืบเนื่องมาจากเรื่องราวการนำเสนอเมื่อวันอาทิตย์สุดสัปดาห์ที่เราได้นำเสนอกันไป สำหรับใครที่พลาดไปไม่ได้ติดตามก็ลองย้อนกลับไปชมโปรสเตอร์ที่เราได้แปะเอาไว้ใน section ของ Sunday Specials กันได้นะครับ... เอาหละวันนี้คงจะไม่มีอะไรมาทักทายเฮฮากันมากนักเรามาเข้าประเด็นของเรื่องราวหลักในวันนี้กันเลยนะครับ สำหรับวันนี้ซึ่งเป้นวันที่ 11 มีนาคม 2553 หรือตรงกับปี คศ. 2010 ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งวันที่เหล่าบรรดาชาวคอมพิวเตอร์ตั้งหน้าตั้งตาเฝ้ารอคอยกันอย่างใจจดใจจ่อ ก็เพราะว่าในวันนี้จะเป็นวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการของซีพียุอีกหนึ่งโมเดลใหม่ล่าสุดจากทาง Intel ในตระกุล Core i7 นั่นเอง สำหรับซีพียุในตระกูลใหม่ล่าสุดของเราในวันนี้จะเป็นซีพียูที่เราอาจจะกล่าวได้เลยว่าเป็นหนึ่งในซีพียุที่แรงที่สุดบนพื้นพิภพ ณ เวลานี้สำหรับ Desktop PC ซึ่งก็จะมาพร้อมกับความแปลกใหม่เป็นครั้งแรกในวงการอีกครั้งหนึ่งจากทางอินเทลที่ข้องเกี่ยวกับกระแสของ Multi-Core ในปัจจุบันนี้ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากเริ่มแรกเลยซีพียูที่เราๆใช้งานกันจะมีเพียง 1 คอร์หรือ 1 แกนประมวลผล จากนั้นถึงยุคหนึ่งสมัยหนึ่งก็เดินทางเข้าสู่ช่วงเวลาของ Dual-Core หรือซีพียุ 2 แกนประมวลผล ถัดมาในอีกหนึ่งยุคก้เป็นยุคสมัยของซีพียูในแบบ Quad-Core หรือซีพียุที่มีแกนประมวลผลมากถึง 4 แกน แต่.... เท่านั้นยังไม่พอทุกอย่างยังคงก้าวไปข้างหน้า และแล้วทางอินเทลก็ได้หันกลับมาใช้งานเทคโนโลยีเก่าแก่ของตนเองที่ครั้งหนึ่งเหมือนกับว่าจะถูกเก็บเข้ากรุไปแล้ว สำหรับเทคโนโลยีแกนเสมือนหรือที่รู้จักกันในนาม Hyper-Threading จนทำให้เราได้พบเห็นได้ใช้งานซีพียุที่เสมือนกับว่ามีแกนประมวลผลมากถึง 8 แกนประมวลผล โดยครั้งแรกที่เราได้พบเห็นกับซีพียุที่ว่านี้ก้คือการมาถึงของสภาปัตยกรรมที่มีชื่อว่า Nehalem นั่นเองและ ณ วันนี้เพียงแค่ 8 แกนหรือคอร์ดูเหมือนว่ามันกำลังจะน้อยไปเสียแล้ว เพราะสิ่งที่เราจะได้มาทำความรุ้จักและพูดคุยกันในวันนี้นั้นมันให้ได้มากกว่านั้น ส่วนจะมีเพิ่มขึ้นมามากขนาดไหนนั้น เดี๋ยวเรามาติดตามชมกันดูนะครับว่าการพัฒนาต่อยอดจากยุคของ Nehalem เข้าสู่ช่วงเวลาของ Westmere นั้นมันจะน่าสนใจมากน้อยสักเพียงไร
ภาพ Die CPU ในรหัส Gulftown ที่มาในขนาด 32nm และมีจำนวนแกน 6 แกนประมวลผล
What is Intel® Gulftown
ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่เรื่องราวหลักของเราในวันนี้คำศัพท์ที่หลายๆคนน่าจะเริ่มติดหูกันมากขึ้นแล้วก็คงจะเป็นคำว่า Westmere 32nm สำหรับตรงนี้มันคือสถาปัตยกรรมการผลิต และใช้ขนาดของกระบวนการผลิตที่ขนาด 32nm ส่วนรายละเอียดของความเป็นมาก้น่าจะได้ทราบกันแล้วว่า Westmere ก็คือ Nehalem ในแบบย่อส่วนลงมา ที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือเทคโนโลยีอะไรมากนัก จะมีก็เพียงการเปลี่ยนแปลงของการใช้ High-K Metal Gate ในยุคที่ 2 และมีการเพิ่มเข้ามาของชุดคำสั่งที่มีชื่อว่า AES นั่นเอง คราวนี้ในวันนี้กับการมาถึงของซีพียุในรหัสโมเดลว่า Intel Core i7 Extreme 980X นั้น แน่นอนว่าทางอินเทลเองก็ต้องมีอะไรใหม่ๆมาให้เราได้ใช้งานกันอีกเช่นเคย เริ่มแรกกับจุดแรกจุดใหญ่เลยนั้นก้คงจะเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้เลยหากไม่ใช่เรื่องของจำนวนคอร์หรือแกนประมวลผล สำหรับซีพียูในโมเดลที่จะขอเรียกสั้นๆว่า 980X นี้นั้นจะเป็นซีพียูในโมเดลแรกบนตระกูล Extreme Edition ของปี 2010 ที่จะมาพร้อมกับแกนประมวลผลมากถึง 6 แกน (6 คอร์) พร้อมทั้งยังพกพาเทคโนโลยี Hyper-Threding เช่นเดียวกันกับซีพียูในตระกุล Core i7 ก่อนหน้านี้ และนั่นก็หมายความว่าซีพียูในโมเดล 980X ตัวนี้จะมีเทรด(Thread)ในการทำงานที่มากถึง 12 เทรดเลยทีเดียว ซึ่งก็เสมือนกับว่าเรามีซีพียุในแบบ 12 แกนกำลังทำงานอยุ่กับเครื่อง PC ของเรา ส่วนทางด้านของรหัสการผลิตอย่างที่ทราบแล้วว่ามันคือ Westmere ส่วนทางด้านของ Codename นั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งในครั้งนี้ทางอินเทลได้ให้ชื่อเรียกของ Die ซีพียุในโมเดลดังกล่าวนี้ว่า " Gulftown " สำหรับชื่อเรียกดังกล่าวนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถช่วยในการบ่งบอกถึงระดับฐานะของตัวซีพียูเองว่าจะจัดวางอยู่ในระดับใด และถ้ามองกันในเวลานี้ก็จะถือได้ว่า Gulftown นั้นจะเป็นซีพียูในระดับ Hi-end Desktop และ Hi-end Server เลยทีเดียว จากเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในสองจุดใหญ่ๆตรงนี้แล้วนั้น ยังจะมีอยุ่อีกหนึ่งส่วนที่ได้มีการนำมาใช้งานอย่างเป็นทางการแล้ว ณ เวลานี้กับเทคโนโลยีของ QPI ซึ่งแต่เดิมก็มีใช้งานมาตั้งแต่ยุคของ Nehalem ตามที่ทราบกันอยุ่แล้วแต่ในเวลานั้นกับซีพียุภายใต้ Codename " Bloomfield " ซึ่งจะมีแกนประมวลผลเพียง 4 แกน + HT และมีการรับส่งข้อมูลผ่านช่องทางความเร็วสูงที่ชื่อว่า QPI ระหว่างตัว CPU และ IOH(X58) และเจ้าช่องทางหรือชุดควบคุม QPI ดังกว่างนี้ก็จะมีการติดตั้งมาให้ในตัวซีพียุเพียงชุดเดียวเท่านั้น แต่คราวนี้กับซีพียูในขนาด 6 คอร์ 12 เทรดภายใต้ Codename นั้นทาง Intel ก็ได้มีการบรรจุชุด QPI ที่อยุ่ภายในมาให้ด้วยกันถึง 2 ชุด ทั้งนี้ก็เพื่อให้รองรับการใช้งานในกลุ่มของ Workstation หรือ Server ที่จะมีการใช้ซีพียุในแบบมากกว่าหนึ่งซ๊อคเก็ต เพื่อเป็นช่องทางรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูสู่ซีพียู ในเรื่องนี้ก็จะช่วยให้ซีพียูในแต่ละตัวนั้นสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง อนึ่งสำหรับรายละเอียดในส่วนปลีกย่อยของ QPI และ AES Instructions code นั้นเดี๋ยวเราจะได้มีการกล่าวถึงโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่งในช่วงต่อไป สิ่งสุดท้ายที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเข้ามาก็คือในส่วนของขนาด L3-Cache ที่ทางอินเทลได้มีการเพิ่มขนาดของ L3-Cache ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกเล็กน้อยคือมีขนาด 12MB และก็ยังคงเป้นการใช้งานในแบบแชร์เข้าถึงด้วยกันทั้งหมดเช่นเดียวกับยุคของ Bloomfield เช่นเดิม โดยสรุปแล้วสำหรับซีพียูในรหัส Core i7 Extreme 980X ตัวนี้นั้นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากยุคของ Nehalem หรือ Bloomfield ก็จะประกอบไปด้วย จำนวนคอร์ในการทำงานมากขึ้นจากเดิม 4 คอร์ 8 เทรดมาเป็น 6 คอร์ 12 เทรด และก็มาพร้อมกับขนาดในการผลิตที่เล็กลงจาก 45nm มาเป็น 32nm และมีช่องทางหรือ QPI Controller จำนวนสองชุด สุดท้ายก็จะเป็นขนาดของ L3-Cache ที่มีการเพิ่มขนาดขึ้นมาเป็น 12MB จากเดิมที่มีอยุ่เพียง 8MB ทั้งในตระกูล Core i7 900Series และ Core i7 800Series เดิม
New Intel® Core i7 Code name " Gulftown " First Westmere Six Core Processor
เมื่อเราได้ทำการติดตั้งตัวซีพียูและเปิดขึ้นมาใช้งานแล้วนั้น หากเราเปิดดูในบริเวณของ Task Manager เราก็จะพบกับช่องเทรดประมวลผลมากมายก่ายกองดังภาพ และเมื่อเราลองรันโปรแกรมหรือ Aplication ใดที่รองรับการทำงานในแบบ Multi-Thread เราก็จะเห็นว่างานดังกล่าวนั้นก็จะถูกแบ่งออกเป้น 12 ส่วนเท่ากับจำนวนของเทรดซีพียุที่มีอยุ่นั่นหละครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น